พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินงานร่วมกันทางด้านวิชาการในการสนับสนุนการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่และขับเคลื่อนงานวิจัย

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ ๒๕๖๗ ณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้มีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินงานร่วมกันทางด้านวิชาการในการสนับสนุนการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่และขับเคลื่อนงานวิจัย ระหว่างราชบัณฑิตยสภาและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา และรองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้แทนของ ๒ หน่วยงาน เป็นผู้ลงนาม ทั้งนี้ มี ศ. ดร.สมบูรณ์ สุขสำราญ อุปนายกราชบัณฑิตยสภา คนที่ ๑ และ ศ. ดร.ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ อุปนายกราชบัณฑิตยสภา คนที่ ๒ ร่วมเป็นพยาน และมีนางนฤมล กรีพร ผู้อำนวยการกองศิลปกรรม ผู้แทนจากสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เข้าร่วมพิธีฯ ด้วย

ผู้ดูแลระบบ

30/10/2567

นายกราชบัณฑิตยสภาเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกิจการสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ครั้งที่ ๔/๒๕๖๗

เมื่อวันพุธที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๓๐ น. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกิจการสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ครั้งที่ ๔/๒๕๖๗ โดยมี นายกฤษฎา คงคะจันทร์ เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา กรรมการและเลขานุการ พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ ราชบัณฑิตผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้อง ๔๐๑ ชั้น ๔ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา และผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบการเตรียมการจัดกิจกรรมรดน้ำดำหัวแสดงมุทิตาจิตแก่ราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกที่มีอายุ ๘๔ ปีขึ้นไป เนื่องในวันครบรอบวันสถาปนาราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๙๘ วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ การจัดพิมพ์หนังสือและวารสารราชบัณฑิตยสภา เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ผลการประชุมกรรมการบริหารของ […]

ผู้ดูแลระบบ

21/06/2567

ที่ประชุมราชบัณฑิตยสภามีมติรับรองการเลือกภาคีสมาชิกเพื่อแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ๒ ตำแหน่ง และเห็นชอบการแก้ไขระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศราชบัณฑิตยสภา

วันพุธที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๓๐ น. ณ ห้องประชุมสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา ในฐานะนายกสภา เป็นประธานการประชุมราชบัณฑิตยสภา ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ โดยมีกรรมการสภาซึ่งเป็นราชบัณฑิตจาก ๓ สำนัก ได้แก่ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง สำนักวิทยาศาสตร์ และสำนักศิลปกรรม พร้อมด้วยนายกฤษฎา คงคะจันทร์ เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา ในฐานะเลขานุการสภา ภาคีสมาชิก ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณารับรองการเลือกภาคีสมาชิกเพื่อแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตของสำนักวิทยาศาสตร์ จำนวน ๒ ตำแหน่ง โดยมีมติเห็นชอบและรับรองให้ ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ และศาสตราจารย์ นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ เป็นผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ประเภทวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์ […]

ผู้ดูแลระบบ

14/03/2567

การประชุมคณะกรรมการกิจการสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ครั้งที่ ๕/๒๕๖๗

วันพุธที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ น. ณ อาคารสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกิจการสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ครั้งที่ ๕/๒๕๖๗ โดยมี นายกฤษฎา คงคะจันทร์ เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา กรรมการและเลขานุการ พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ ราชบัณฑิตผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้อง ๔๐๑ ชั้น ๔ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา และผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาร่างข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา ว่าด้วยการกำหนดประเภทวิชาในแต่ละสำนัก และการแบ่งประเภทวิชาออกเป็นสาขาวิชา และ ร่างระเบียบราชบัณฑิตยสภา ว่าด้วยเงินอุปการะราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก โดยปรับให้ราชบัณฑิตที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามปรกติ เพราะเหตุชรา พิการ หรือทุพพลภาพ สามารถแจ้งขอรับเงินอุปการะสามในสี่ได้

ผู้ดูแลระบบ

07/03/2567

ราชบัณฑิต’ ยุคใหม่ กับ ‘ศัพท์บัญญัติ’ ดิสรัปชัน

กรุงเทพธุรกิจ 7 กค 63 6 กรกฎาคม 2563 | โดย ปริญญา ชาวสมุน จะทับศัพท์หรือบัญญัติศัพท์ใหม่ ในยุคที่โลกหมุนไว “ราชบัณฑิต” ไทยจึงต้องปรับตัวให้ทันภาษาที่เปลี่ยนเร็วกว่า 5G มองเป็นพลวัตทางภาษาก็ได้ หรือจะนิยามว่าเป็นการดิสรัปชันของยุคสมัยก็ไม่ผิด กับการใช้ศัพท์ใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปแบบติดสปีดของคนยุคนี้ที่การเลื่อนไหลจากภาษาต่างประเทศเข้ามาผสมภาษาไทย ผลิดอกออกผลเป็นคำทับศัพท์บ้าง คำแสลงบ้าง จนระบบนิเวศภาษาบ้านเราหลากหลายและซับซ้อนขึ้นทุกทีๆ ขณะที่ศัพท์แสงเกิดใหม่กลายเป็นคำติดปาก แทบทุกวันจะเกิดคำศัพท์แปลกตาให้เห็นบนโซเชียลมีเดีย แล้วค่อยๆ แทรกซึมจนมีคนใช้กันแพร่หลาย ศัพท์เหล่านี้มักถูกนิยามขึ้นจากสื่อ จากคนดัง หรือแม้กระทั่งจากประชาชนคนธรรมดา ทว่าอีกฟากคือ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา สถาบันที่มีหนึ่งในพันธกิจบัญญัติศัพท์ในภาษาไทยให้เป็นไปตามหลักการและเป็นระบบ ศัพท์…ขาหลอก ถึงบทบาท ‘บัญญัติศัพท์’ ของราชบัณฑิตยสภาจะเป็นไปตามมาตรา 8 วงเล็บ 6 ของพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2558 ระบุว่าให้สำนักงานราชบัณฑิตยสภามีอำนาจหน้าที่ ดําเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธาน การบัญญัติศัพท์วิชาการสาขาต่างๆ รวมทั้งการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วิชาการภาษาต่างประเทศ เป็นภาษาไทยและงานวิชาการอื่นๆ ทว่า คำศัพท์แปลกประหลาดที่ไร้ที่มาก็มักจะโผล่ขึ้นกลางโซเชียลมีเดีย แล้วเข้าอีหรอบ ‘ข่าวลือไปไวกว่าไฟลามทุ่ง’ จนราชบัณฑิตยสภาถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวตลก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุรพล […]

ผู้ดูแลระบบ

05/08/2563

นายกราชบัณฑิตยสภาให้สัมภาษณ์ เรื่องศัพท์บัญญัติ กับรายการ ชัวร์ก่อนแชร์

ศาสตราจารย์ นพ.สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภาให้สัมภาษณ์กับรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ รายละเอียดเรื่องศัพท์บัญญัติ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

ผู้ดูแลระบบ

01/08/2563

ศัพท์บัญญัติของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ตามที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้เผยแพร่ศัพท์บัญญัติในสาขาวิชาต่าง ๆ ทางเพจเฟซบุ๊กสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เช่น คำว่า “ข้อมูลมหัต (big data)” ซึ่งเป็นศัพท์สาขาวิชาสถิติศาสตร์ นั้น การเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวจุดประกายให้เกิดความสนใจเกี่ยวกับศัพท์บัญญัติของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา และมีผู้เผยแพร่ข้อมูลที่อ้างว่าเป็นศัพท์บัญญัติของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาผ่านทางสื่อสังคม (social media) เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจึงได้ตรวจสอบข้อมูลศัพท์บัญญัติดังกล่าวจากฐานข้อมูลศัพท์บัญญัติของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา พบข้อมูลการบัญญัติในหลายสาขาดังนี้ คำศัพท์ ศัพท์บัญญัติ สาขาวิชา Twitter ทวิตเตอร์ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ big data ข้อมูลขนาดใหญ่ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ   ข้อมูลมหัต สถิติศาสตร์ socialization การขัดเกลาทางสังคม ภาษาศาสตร์ประยุกต์   การขัดเกลาทางสังคม,สังคมกรณ์ สังคมวิทยา intuition สหัชญาณ วิทยาศาสตร์   การรู้เอง ภาษาศาสตร์ทั่วไป   อัชฌัตติกญาณ,การรู้เอง ปรัชญา Innate idea สชาติกมโนคติ,มโนคติแต่กำเนิด ปรัชญา hermeneutics อรรถปริวรรต สังคมวิทยา   ๑. อรรถปริวรรตศาสตร์ […]

ผู้ดูแลระบบ

29/06/2563

สังคมคนไทยอายุยืน: ความจริง วิกฤติการณ์ และข้อแนะนำ

ขณะที่บ้านเมืองของเรากำลังเผชิญกับการคุกคามของโรคระบาดโควิด-19  ประชาชนทุกวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะมีความอ่อนไหวและเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในอัตราที่สูง ในอีก 10 ปีข้างหน้า สังคมไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเทียบกับประชากรทั้งประเทศสูงมากถึงร้อยละ 30 คนวัยทำงานจะมีสัดส่วนน้อยลง  เด็กเกิดใหม่ก็ยิ่งมีสัดส่วนน้อย ซึ่งเกิดจากปัญหาครอบครัวที่คนท้องที่ไม่พร้อม” กับ “คนที่พร้อมแต่ไม่ท้อง” จากสภาพดังกล่าว เมื่อสัดส่วนของประชาชนเปลี่ยนไป ผู้สูงอายุในอนาคต (ปัจจุบันอายุ 40-60 ปี) ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น จะต้องเผชิญปัญหาในด้านต่าง ๆ พร้อม ๆ กัน ส่วนผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ก็จะต้องมีภาระเพิ่มมากขึ้นในการดูแลพ่อ แม่ และอาจมีปู่ ย่า ตา ยาย อีกด้วย จึงทำให้จำนวนและคุณภาพคนวัยทำงาน คนจ่ายภาษีอากรในอนาคตจะมีน้อยลง และอาจสร้างปัญหาความยั่งยืนทางการคลังได้ ราชบัณฑิตยสภาในฐานะองค์กรที่หน้าที่ค้นคว้าวิจัยให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางวิชาการนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี เห็นว่าการที่รัฐบาลให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุนั้น ราชบัณฑิตยสภาควรมีบทบาทสำคัญในการช่วยผลักดันให้องค์กรภาครัฐและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ตระหนักและเตรียมความพร้อมในการรองรับการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  ตลอดจนพิจารณาถึงวิธีการบูรณาการนโยบายของรัฐและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งคือ คณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำข้อเสนอแผนแม่บทเรื่องสังคมผู้สูงอายุต่อรัฐบาล เพื่อพิจารณาข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบในมิติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมสูงวัยหรือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต  และจัดทำแผนรองรับการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมคนไทยอายุยืนนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับ “สังคมคนไทยอายุยืน” ในอนาคต โดยสรุปออกมาเป็นข้อเสนอแผนการสร้างระบบรองรับ “สังคมคนไทยอายุยืน” […]

ผู้ดูแลระบบ

29/06/2563

การบัญญัติศัพท์ของคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์สถิติศาสตร์ คำว่า Big data ว่า ข้อมูลมหัต

สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้เผยแพร่การบัญญัติศัพท์ของคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์สถิติศาสตร์ คำว่า Big data ว่า ข้อมูลมหัต ทำให้มีผู้แสดงตวามคิดเห็นกันอย่างมากมาย ผมเห็นว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีและเป็นโอกาสที่จะชี้แจงให้สาธารณชนได้ทราบวิธีการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสภา มาตรา 8 วงเล็บ 6 ของพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2558 ให้สำนักงานราชบัณฑิตยสภามีอำนาจหน้าที่ ดําเนินงานเกี่ยวกับการจัดทําพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธาน การบัญญัติศัพท์วิชาการสาขาต่าง ๆ รวมทั้งการจัดทําพจนานุกรมศัพท์วิชาการภาษาต่างประเทศ เป็นภาษาไทยและงานวิชาการอื่น ๆ นายกราชบัณฑิตยสภาแต่งตั้งคณะกรรมการในแต่ละสาขาวิชาประกอบด้วยภาคีสมาชิก ราชบัณฑิต และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ดังกล่าว ในการบัญญัติศัพท์ เลขานุการของคณะกรรมการจะต้องศึกษามาก่อนว่า คำที่จะบัญญัตินั้นมีศัพท์บัญญัติโดยคณะกรรมการสาขาอื่นแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่มีจึงดำเนินการบัญญัติได้ แต่ถ้าเคยมีบัญญัติโดยคณะกรรมการสาขาอื่นมาก่อนแล้ว ให้คณะกรรมการพิจารณาว่าศัพท์บัญญัตินั้นจะใช้ได้กับสาขาของเราได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็สามารถบัญญัติใหม่ได้ หากคำที่บัญญัติมีที่ใช้ในหลายสาขา หรือหลายสาขาบัญญัติศัพท์แล้วไม่ตรงกัน จะนำมาพิจารณาในคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับหลายสาขาวิชาและที่จำเป็นเร่งด่วน เพื่อหาข้อสรุป หากหาข้อสรุปร่วมกันไม่ได้ อาจใช้ศัพท์บัญญัติหลายคำได้ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้ ซึ่งท้ายที่สุดจะเหลือเฉพาะคำที่ใช้กันแพร่หลายเท่านั้น ในการบัญญัติศัพท์ ใช้แนวทางของพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน โดยเลือกใช้คำไทยก่อนคำบาลีหรือสันสกฤต หลีกเลี่ยงการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษโดยไม่จำเป็น ศัพท์ที่บัญญัติแล้วจะนำไปเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ทางหน้าเฟสบุคของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ก่อนที่จะตีพิมพ์ต่อไป ศัพท์บัญญัติของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาจัดทำโดยคณะกรรมการวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิของแต่ละสาขาวิชา อาจถูกใจหรีอไม่ถูกใจท่านบ้าง […]

ผู้ดูแลระบบ

28/06/2563

เบื้องหลังการบัญญัติศัพท์คำว่า New normal

ผมเคยคิดที่จะบัญญัติศัพท์คำว่า New normal ว่า บรรทัดฐานใหม่ แต่ผมเปลี่ยนใจ เมื่อได้ศึกษาความหมายและความแตกต่าง ของคำว่า Normal และ Norm“ผู้ชายเดทกับผู้ชายเป็นเรื่องปรกติ ที่เรียก Normal แต่ไม่ใช่ Norm”ผมจึงคิดว่า “บรรทัดฐานใหม่” น่าจะเหมาะกับ New norm มากกว่า New normal คำว่า New normal จะบัญญัติว่าอะไรดี คำนี้เป็นภาษาอังกฤษ จึงต้องไปดูความหมายใน Oxford Dictionary ซึ่งให้คำจำกัดความว่า “A previously unfamiliar or typical situation that has been standard, usual or expected”. หมายถึง สถานการณ์หรือปรากฏการณ์ ที่แต่เดิมเป็นสิ่งที่ไม่ปรกติ ผู้คนไม่คุ้นเคย ไม่ใช่มาตรฐาน ต่อมามีเหตุหรือวิกฤตบางอย่างทำให้มีการเปลี่ยนแปลง มีผลทำให้สถานการณ์หรือปรากฏการณ์นั้นกลายเป็นสิ่งที่ปรกติและเป็นมาตรฐานคนไทยใช้ New normal อย่างแพร่หลาย ในขณะที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 […]

ผู้ดูแลระบบ

15/05/2563
1 2