สังคมคนไทยอายุยืน: ความจริง วิกฤติการณ์ และข้อแนะนำ

ขณะที่บ้านเมืองของเรากำลังเผชิญกับการคุกคามของโรคระบาดโควิด-19  ประชาชนทุกวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะมีความอ่อนไหวและเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในอัตราที่สูง ในอีก 10 ปีข้างหน้า สังคมไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเทียบกับประชากรทั้งประเทศสูงมากถึงร้อยละ 30 คนวัยทำงานจะมีสัดส่วนน้อยลง  เด็กเกิดใหม่ก็ยิ่งมีสัดส่วนน้อย ซึ่งเกิดจากปัญหาครอบครัวที่คนท้องที่ไม่พร้อม” กับ “คนที่พร้อมแต่ไม่ท้อง” จากสภาพดังกล่าว เมื่อสัดส่วนของประชาชนเปลี่ยนไป ผู้สูงอายุในอนาคต (ปัจจุบันอายุ 40-60 ปี) ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น จะต้องเผชิญปัญหาในด้านต่าง ๆ พร้อม ๆ กัน ส่วนผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ก็จะต้องมีภาระเพิ่มมากขึ้นในการดูแลพ่อ แม่ และอาจมีปู่ ย่า ตา ยาย อีกด้วย จึงทำให้จำนวนและคุณภาพคนวัยทำงาน คนจ่ายภาษีอากรในอนาคตจะมีน้อยลง และอาจสร้างปัญหาความยั่งยืนทางการคลังได้ ราชบัณฑิตยสภาในฐานะองค์กรที่หน้าที่ค้นคว้าวิจัยให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางวิชาการนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี เห็นว่าการที่รัฐบาลให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุนั้น ราชบัณฑิตยสภาควรมีบทบาทสำคัญในการช่วยผลักดันให้องค์กรภาครัฐและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ตระหนักและเตรียมความพร้อมในการรองรับการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  ตลอดจนพิจารณาถึงวิธีการบูรณาการนโยบายของรัฐและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งคือ คณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำข้อเสนอแผนแม่บทเรื่องสังคมผู้สูงอายุต่อรัฐบาล เพื่อพิจารณาข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบในมิติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมสูงวัยหรือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต  และจัดทำแผนรองรับการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมคนไทยอายุยืนนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับ “สังคมคนไทยอายุยืน” ในอนาคต โดยสรุปออกมาเป็นข้อเสนอแผนการสร้างระบบรองรับ “สังคมคนไทยอายุยืน” […]

ผู้ดูแลระบบ

29/06/2563

การบัญญัติศัพท์ของคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์สถิติศาสตร์ คำว่า Big data ว่า ข้อมูลมหัต

สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้เผยแพร่การบัญญัติศัพท์ของคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์สถิติศาสตร์ คำว่า Big data ว่า ข้อมูลมหัต ทำให้มีผู้แสดงตวามคิดเห็นกันอย่างมากมาย ผมเห็นว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีและเป็นโอกาสที่จะชี้แจงให้สาธารณชนได้ทราบวิธีการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสภา มาตรา 8 วงเล็บ 6 ของพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2558 ให้สำนักงานราชบัณฑิตยสภามีอำนาจหน้าที่ ดําเนินงานเกี่ยวกับการจัดทําพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธาน การบัญญัติศัพท์วิชาการสาขาต่าง ๆ รวมทั้งการจัดทําพจนานุกรมศัพท์วิชาการภาษาต่างประเทศ เป็นภาษาไทยและงานวิชาการอื่น ๆ นายกราชบัณฑิตยสภาแต่งตั้งคณะกรรมการในแต่ละสาขาวิชาประกอบด้วยภาคีสมาชิก ราชบัณฑิต และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ดังกล่าว ในการบัญญัติศัพท์ เลขานุการของคณะกรรมการจะต้องศึกษามาก่อนว่า คำที่จะบัญญัตินั้นมีศัพท์บัญญัติโดยคณะกรรมการสาขาอื่นแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่มีจึงดำเนินการบัญญัติได้ แต่ถ้าเคยมีบัญญัติโดยคณะกรรมการสาขาอื่นมาก่อนแล้ว ให้คณะกรรมการพิจารณาว่าศัพท์บัญญัตินั้นจะใช้ได้กับสาขาของเราได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็สามารถบัญญัติใหม่ได้ หากคำที่บัญญัติมีที่ใช้ในหลายสาขา หรือหลายสาขาบัญญัติศัพท์แล้วไม่ตรงกัน จะนำมาพิจารณาในคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับหลายสาขาวิชาและที่จำเป็นเร่งด่วน เพื่อหาข้อสรุป หากหาข้อสรุปร่วมกันไม่ได้ อาจใช้ศัพท์บัญญัติหลายคำได้ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้ ซึ่งท้ายที่สุดจะเหลือเฉพาะคำที่ใช้กันแพร่หลายเท่านั้น ในการบัญญัติศัพท์ ใช้แนวทางของพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน โดยเลือกใช้คำไทยก่อนคำบาลีหรือสันสกฤต หลีกเลี่ยงการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษโดยไม่จำเป็น ศัพท์ที่บัญญัติแล้วจะนำไปเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ทางหน้าเฟสบุคของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ก่อนที่จะตีพิมพ์ต่อไป ศัพท์บัญญัติของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาจัดทำโดยคณะกรรมการวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิของแต่ละสาขาวิชา อาจถูกใจหรีอไม่ถูกใจท่านบ้าง […]

ผู้ดูแลระบบ

28/06/2563

เบื้องหลังการบัญญัติศัพท์คำว่า New normal

ผมเคยคิดที่จะบัญญัติศัพท์คำว่า New normal ว่า บรรทัดฐานใหม่ แต่ผมเปลี่ยนใจ เมื่อได้ศึกษาความหมายและความแตกต่าง ของคำว่า Normal และ Norm“ผู้ชายเดทกับผู้ชายเป็นเรื่องปรกติ ที่เรียก Normal แต่ไม่ใช่ Norm”ผมจึงคิดว่า “บรรทัดฐานใหม่” น่าจะเหมาะกับ New norm มากกว่า New normal คำว่า New normal จะบัญญัติว่าอะไรดี คำนี้เป็นภาษาอังกฤษ จึงต้องไปดูความหมายใน Oxford Dictionary ซึ่งให้คำจำกัดความว่า “A previously unfamiliar or typical situation that has been standard, usual or expected”. หมายถึง สถานการณ์หรือปรากฏการณ์ ที่แต่เดิมเป็นสิ่งที่ไม่ปรกติ ผู้คนไม่คุ้นเคย ไม่ใช่มาตรฐาน ต่อมามีเหตุหรือวิกฤตบางอย่างทำให้มีการเปลี่ยนแปลง มีผลทำให้สถานการณ์หรือปรากฏการณ์นั้นกลายเป็นสิ่งที่ปรกติและเป็นมาตรฐานคนไทยใช้ New normal อย่างแพร่หลาย ในขณะที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 […]

ผู้ดูแลระบบ

15/05/2563

ราชบัณฑิตบัญญัติศัพท์คำว่า “New normal”

การพิจารณาศัพท์บัญญัติและนิยามของคำว่า New normal และ New norm ราชบัณฑิตยสภาได้แต่งตั้งคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับหลายสาขาวิชาและที่จำเป็นเร่งด่วน คณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่บัญญัติศัพท์ใหม่ที่อยู่ในกระแสสังคมร่วมสมัย รวมทั้งศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชาและมีความจำเป็นต้องใช้งาน นอกจากนี้มีหน้าที่เผยแพร่ศัพท์ที่บัญญัติไปสู่สาธารณะชนอีกด้วย คำว่า New normal ได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 คำว่า New normal เป็นวลีและเป็นสำนวน ซึ่ง Oxford dictionary ได้ให้คำนิยามว่า A previously unfamiliar or atypical situation that has become standard, usual, or expected. หมายถึงสถานการณ์หรือปรากฏการณ์ ที่แต่เดิมเป็นสิ่งที่ไม่ปรกติ ผู้คนไม่คุ้นเคย ไม่ใช่มาตรฐาน ต่อมา มีเหตุหรือเกิดวิกฤติบางอย่าง จึงมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้สถานการณ์หรือปรากฏการณ์นั้นกลายเป็นสิ่งที่ปรกติและเป็นมาตรฐาน กรรมการได้ให้ความเห็นว่าคำจำกัดความของคำว่า New normal เป็นพลวัตและคำนี้มีที่ใช้ในหลายบริบท ไม่ใช่เฉพาะในทางธุรกิจหรือวิถีชีวิตเท่านั้น จึงเป็นการยากที่จะหาคำกลางๆที่จะใช้ได้ในทุกบริบท จึงมีข้อสรุปร่วมกันว่า ควรจะเขียนคำนี้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “นิวนอร์มัล” จะสื่อความหมายได้ดีกว่า อย่างไรก็ตามคณะกรรมการบัญญัติศัพท์นิเทศศาสตร์ได้บัญญัติคำนี้ไว้แล้วว่า […]

ผู้ดูแลระบบ

13/05/2563

การใช้รูปวรรณยุกต์เอกในคำ แซ่บ กับ แซ่ด

นิตยา กาญจนะวรรณราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทยสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา อักขรวิธีไทยกำหนดไว้ว่า ถ้าพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำมีสระเสียงยาว และตัวสะกดเป็นคำตาย จะเป็นเสียงโทได้ทันทีโดยไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับ เช่น งาก แต่ถ้าเป็นสระสั้น ต้องใช้รูปวรรณยุกต์เอกกำกับ เพื่อให้เป็นเสียงโท เช่น งั่ก หลักเกณฑ์นี้ปรากฏอยู่ในตำราภาษาไทยหลายเล่มนับแต่ พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นต้นมา เช่น หลักภาษาไทย ของ พระยาอุปกิตศิลปสาร มีตัวอย่างคือคำว่า คั่ก (พระยาอุปกิตศิลปสาร, ๒๕๓๓ : ๑๕) ลักษณะภาษาไทย ของ ศาสตราจารย์ ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา มีตัวอย่างคือคำว่า งั่ก (บรรจบ พันธุเมธา, ๒๕๕๙ : ๓๖) บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม ๑ ของ กระทรวงศึกษาธิการ มีตัวอย่างคือคำว่า คึ่ก (สถาบันภาษาไทย, ๒๕๔๕ : ๘๒) คำว่า แซ่บ […]

ผู้ดูแลระบบ

11/05/2563

ข้อเสนอ แผนการสร้างระบบรองรับ “สังคมคนไทยอายุยืน”

สังคมคนไทยอายุยืนความจริง วิกฤติการณ์ และข้อแนะนำ จัดทำโดยคณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำข้อเสนอแผนแม่บทเรื่องสังคมผู้สูงอายุต่อรัฐบาลราชบัณฑิตยสภา จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรในประเทศไทยที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้สังคมไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมที่ประชากรมีอายุยืนมากขึ้น และจะส่งผลกระทบในมิติต่าง ๆ ในด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ ด้านชุมชนสังคม และก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาในอนาคต ราชบัณฑิตยสภาในฐานะที่เป็นสถาบันหลักของเครือข่ายทางปัญญาแห่งชาติที่มีพันธกิจสำคัญประการหนึ่งคือ ให้ความเห็น คำแนะนำ และคำปรึกษาทางวิชาการแก่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี  ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งคือ คณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำข้อเสนอแผนแม่บทเรื่องสังคมผู้สูงอายุต่อรัฐบาล เพื่อพิจารณาข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบในมิติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมผู้สูงวัยหรือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต ซึ่งในที่นี้จะใช้ว่าสังคมคนไทยอายุยืน ระดมความคิดเห็นในการจัดทำแผนรองรับการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและนำเสนอต่อรัฐบาล ราชบัณฑิตยสภาเห็นว่าเรื่องนี้มีความจำเป็นที่คนไทยและรัฐบาลไทย จะต้องร่วมกันสร้างระบบเพื่อรองรับสังคมไทยอายุยืนอย่างจริงจังเป็นการด่วน โดยการบูรณาการนโยบายของรัฐและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น จึงได้เสนอข้อแนะนำดังต่อไปนี้ สถานการณ์สังคมคนไทยอายุยืน ปัจจุบันโครงสร้างของประชากรในประเทศไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยสัดส่วนของผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่สัดส่วนของคนวัยทำงานจะเริ่มลดลง และสัดส่วนของเด็ก (0-14 ปี) ก็จะลดลงเรื่อย ๆ ปัจจุบันปัญหาที่น่าเป็นห่วงคือ จำนวนเด็กที่เกิดใหม่ ส่วนใหญ่จะเกิดจาก “คนท้องที่ไม่พร้อม” ส่วน “คนพร้อมไม่ท้อง”  คุณภาพคนวัยทำงานในอนาคตที่มีสัดส่วนน้อยลงอยู่แล้วจะเป็นอย่างไร  ใครจะจ่ายภาษีอากรให้แก่รัฐบาล  เพื่อบริหารงานของประเทศและเพื่อเป็นสวัสดิการกับสังคม  […]

ผู้ดูแลระบบ

20/04/2563

ราชบัณฑิตยสภาบริจาคเงิน ให้แก่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-๑๙

วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๙.๑๕ น. ศ.นพ. สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา ศ.ดร. สมบูรณ์ สุขสำราญ และศ.ดร. สุรพล วิรุฬห์รักษ์ อุปนายก รวมทั้งศ.ดร. สนิท อักษรแก้ว ราชบัณฑิตและประธานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ร่วมกันนำเงินบริจาคในนามของราชบัณฑิตยสภา เป็นจำนวนเงิน ๕๕๐,๐๐๐ บาทให้กับศ.ดร.นพ. ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อใช้จ่ายกับผู้ป่วยที่เป็นโรคโควิด-๑๙ ทั้งนี้ได้รับบริจาคจากท่านภาคีสมาชิกและราชบัณฑิตของทั้งสามสำนักรวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๐๐,๐๐๐ บาทมีญาติสนิทมิตรสหายร่วมบริจาคเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๕๐,๐๐๐ บาท ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ร่วมบริจาคในครั้งนี้และขอกุศลผลบุญ ที่ท่านได้กระทำได้โปรดดลบันดาลให้ทุกท่านมีโชคและปลอดภัย

ผู้ดูแลระบบ

18/04/2563

วช. ร่วมกับ ราชบัณฑิตยสภา รวบรวมกูรูด้านสังคมศาสตร์ร่วมถก “จะใช้ชีวิตอย่างไร ในโลกยุค COVID-19”

กว่า 3 เดือนแล้ว ที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับการระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ซึ่งนับว่าเป็นโรคอุบัติใหม่ ส่งผลกระทบในวงกว้างและมีแนวโน้มที่จะยังแพร่กระจายไปยังทั่วทุกมุมโลกอย่างต่อเนื่อง หลากหลายมุมมองหลากหลายปัญหาเกิดขึ้นตามๆ มาเป็นลูกโซ่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่นักการแพทย์และสาธารณสุขผู้ซึ่งอยู่ด่านหน้าของสงครามเชื้อโรคนี้จะต้องหาวิธีการที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและนวัตกรรม ที่เร่งค้นหาความลับที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใต้เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ เพื่อทำความเข้าใจและหาทางแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ภายใต้ภาวะความเครียดและข้อจำกัดของเวลา สิ่งสำคัญที่สังคมโลกไม่สามารถปฏิเสธได้เลยจากเหตุการณ์ระบาดครั้งนี้ คือ ผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการดำเนินชีวิตของมวลมนุษยชาติ จะใช้ชีวิตอย่างไร ในโลกยุค COVID-19 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ ราชบัณฑิตยสภา รวบรวมกูรูด้านสังคมศาสตร์ร่วมถก “จะใช้ชีวิตอย่างไร ในโลกยุค COVID-19” โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้กล่าวถึงความสำคัญของกิจกรรมเสวนาในครั้งนี้ ว่าเป็นการมุ่งเน้นที่จะสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนและสังคมในการใช้ชีวิตในภาวะวิกฤติการระบาดของโรค COVID-19 การลดความตื่นตระหนกและทำความเข้าใจกับสถานการณ์การแพร่ระบาด การลดความตึงเครียดและสร้างเสริมภูมิต้านทางด้านจิตใจ ความเข้าใจเอื้อเฟื้อแบ่งปันกันในสังคม การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ชุมชนเพื่อเป็นเกราะพลังทางจิตใจ การเสพข่าวที่เข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและมีความเข้าใจก็จะสามารถทำให้เราสามารถผ่านวิกฤตินี้ไปได้ด้วยกัน การระบาดของโรคที่ขยายวงกว้างมาตลอดระยะเวลา 3 เดือน และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะสิ้นสุดได้ในเร็ววัน ส่งผลต่อ ธุรกิจ ผู้ประกอบการ แรงงาน ผู้บริโภค และพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป สภาพคล่องทางการเงิน […]

ผู้ดูแลระบบ

13/03/2563

กู้วิกฤตภัยแล้งและระบบประปาเค็มปี ๒๕๖๓

เมื่อวันอังคารที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดประชุมเสวนาสาธารณะราชบัณฑิตยสภา เรื่อง “กู้วิกฤตภัยแล้งและระบบประปาเค็มปี ๒๕๖๓” ณ ห้องประชุม ๔๐๑-๔๐๓ ชั้น ๔ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา, ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ราชบัณฑิต ประธานอาศรมความคิดด้านระบบโลกศาสตร์และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ราชบัณฑิตยสภา, ศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ราชบัณฑิต ประธานคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ราชบัณฑิตยสภา และ ดร.ดวงตา ตันโช เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา รวมทั้งผู้สนใจและสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน การเสวนาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ประสบการณ์ด้านน้ำ ทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน ตลอดจนผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาวิกฤตภัยแล้งในปี ๒๕๖๓ ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความคิดเห็นระหว่างหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบและการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งในปี ๒๕๖๓ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคต่าง […]

ผู้ดูแลระบบ

05/03/2563

สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ประทานพระอนุญาตให้เข้าเฝ้าเพื่อขอประทานพรเนื่องในโอกาสปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๓

เมื่อวันศุกร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๑๖.๐๐ น. ณ ตำหนักอรุณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ประทานพระวโรกาสให้ศาสตราจารย์ นพ.สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา นำผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเข้าเฝ้าเพื่อขอประทานพรเนื่องในโอกาสปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๓

ผู้ดูแลระบบ

08/02/2563
1 2 3 4 12