สังคมคนไทยอายุยืน: ความจริง วิกฤติการณ์ และข้อแนะนำ

ขณะที่บ้านเมืองของเรากำลังเผชิญกับการคุกคามของโรคระบาดโควิด-19  ประชาชนทุกวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะมีความอ่อนไหวและเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในอัตราที่สูง ในอีก 10 ปีข้างหน้า สังคมไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเทียบกับประชากรทั้งประเทศสูงมากถึงร้อยละ 30 คนวัยทำงานจะมีสัดส่วนน้อยลง  เด็กเกิดใหม่ก็ยิ่งมีสัดส่วนน้อย ซึ่งเกิดจากปัญหาครอบครัวที่คนท้องที่ไม่พร้อม” กับ “คนที่พร้อมแต่ไม่ท้อง” จากสภาพดังกล่าว เมื่อสัดส่วนของประชาชนเปลี่ยนไป ผู้สูงอายุในอนาคต (ปัจจุบันอายุ 40-60 ปี) ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น จะต้องเผชิญปัญหาในด้านต่าง ๆ พร้อม ๆ กัน ส่วนผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ก็จะต้องมีภาระเพิ่มมากขึ้นในการดูแลพ่อ แม่ และอาจมีปู่ ย่า ตา ยาย อีกด้วย จึงทำให้จำนวนและคุณภาพคนวัยทำงาน คนจ่ายภาษีอากรในอนาคตจะมีน้อยลง และอาจสร้างปัญหาความยั่งยืนทางการคลังได้ ราชบัณฑิตยสภาในฐานะองค์กรที่หน้าที่ค้นคว้าวิจัยให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางวิชาการนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี เห็นว่าการที่รัฐบาลให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุนั้น ราชบัณฑิตยสภาควรมีบทบาทสำคัญในการช่วยผลักดันให้องค์กรภาครัฐและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ตระหนักและเตรียมความพร้อมในการรองรับการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  ตลอดจนพิจารณาถึงวิธีการบูรณาการนโยบายของรัฐและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งคือ คณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำข้อเสนอแผนแม่บทเรื่องสังคมผู้สูงอายุต่อรัฐบาล เพื่อพิจารณาข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบในมิติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมสูงวัยหรือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต  และจัดทำแผนรองรับการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมคนไทยอายุยืนนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับ “สังคมคนไทยอายุยืน” ในอนาคต โดยสรุปออกมาเป็นข้อเสนอแผนการสร้างระบบรองรับ “สังคมคนไทยอายุยืน” […]

ผู้ดูแลระบบ

29/06/2563

การใช้รูปวรรณยุกต์เอกในคำ แซ่บ กับ แซ่ด

นิตยา กาญจนะวรรณราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทยสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา อักขรวิธีไทยกำหนดไว้ว่า ถ้าพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำมีสระเสียงยาว และตัวสะกดเป็นคำตาย จะเป็นเสียงโทได้ทันทีโดยไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับ เช่น งาก แต่ถ้าเป็นสระสั้น ต้องใช้รูปวรรณยุกต์เอกกำกับ เพื่อให้เป็นเสียงโท เช่น งั่ก หลักเกณฑ์นี้ปรากฏอยู่ในตำราภาษาไทยหลายเล่มนับแต่ พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นต้นมา เช่น หลักภาษาไทย ของ พระยาอุปกิตศิลปสาร มีตัวอย่างคือคำว่า คั่ก (พระยาอุปกิตศิลปสาร, ๒๕๓๓ : ๑๕) ลักษณะภาษาไทย ของ ศาสตราจารย์ ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา มีตัวอย่างคือคำว่า งั่ก (บรรจบ พันธุเมธา, ๒๕๕๙ : ๓๖) บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม ๑ ของ กระทรวงศึกษาธิการ มีตัวอย่างคือคำว่า คึ่ก (สถาบันภาษาไทย, ๒๕๔๕ : ๘๒) คำว่า แซ่บ […]

ผู้ดูแลระบบ

11/05/2563