การใช้รูปวรรณยุกต์เอกในคำ แซ่บ กับ แซ่ด

นิตยา กาญจนะวรรณราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทยสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา อักขรวิธีไทยกำหนดไว้ว่า ถ้าพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำมีสระเสียงยาว และตัวสะกดเป็นคำตาย จะเป็นเสียงโทได้ทันทีโดยไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับ เช่น งาก แต่ถ้าเป็นสระสั้น ต้องใช้รูปวรรณยุกต์เอกกำกับ เพื่อให้เป็นเสียงโท เช่น งั่ก หลักเกณฑ์นี้ปรากฏอยู่ในตำราภาษาไทยหลายเล่มนับแต่ พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นต้นมา เช่น หลักภาษาไทย ของ พระยาอุปกิตศิลปสาร มีตัวอย่างคือคำว่า คั่ก (พระยาอุปกิตศิลปสาร, ๒๕๓๓ : ๑๕) ลักษณะภาษาไทย ของ ศาสตราจารย์ ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา มีตัวอย่างคือคำว่า งั่ก (บรรจบ พันธุเมธา, ๒๕๕๙ : ๓๖) บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม ๑ ของ กระทรวงศึกษาธิการ มีตัวอย่างคือคำว่า คึ่ก (สถาบันภาษาไทย, ๒๕๔๕ : ๘๒) คำว่า แซ่บ […]

ผู้ดูแลระบบ

11/05/2563