สังคมคนไทยอายุยืน: ความจริง วิกฤติการณ์ และข้อแนะนำ

ขณะที่บ้านเมืองของเรากำลังเผชิญกับการคุกคามของโรคระบาดโควิด-19  ประชาชนทุกวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะมีความอ่อนไหวและเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในอัตราที่สูง ในอีก 10 ปีข้างหน้า สังคมไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเทียบกับประชากรทั้งประเทศสูงมากถึงร้อยละ 30 คนวัยทำงานจะมีสัดส่วนน้อยลง  เด็กเกิดใหม่ก็ยิ่งมีสัดส่วนน้อย ซึ่งเกิดจากปัญหาครอบครัวที่คนท้องที่ไม่พร้อม” กับ “คนที่พร้อมแต่ไม่ท้อง” จากสภาพดังกล่าว เมื่อสัดส่วนของประชาชนเปลี่ยนไป ผู้สูงอายุในอนาคต (ปัจจุบันอายุ 40-60 ปี) ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น จะต้องเผชิญปัญหาในด้านต่าง ๆ พร้อม ๆ กัน ส่วนผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ก็จะต้องมีภาระเพิ่มมากขึ้นในการดูแลพ่อ แม่ และอาจมีปู่ ย่า ตา ยาย อีกด้วย จึงทำให้จำนวนและคุณภาพคนวัยทำงาน คนจ่ายภาษีอากรในอนาคตจะมีน้อยลง และอาจสร้างปัญหาความยั่งยืนทางการคลังได้ ราชบัณฑิตยสภาในฐานะองค์กรที่หน้าที่ค้นคว้าวิจัยให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางวิชาการนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี เห็นว่าการที่รัฐบาลให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุนั้น ราชบัณฑิตยสภาควรมีบทบาทสำคัญในการช่วยผลักดันให้องค์กรภาครัฐและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ตระหนักและเตรียมความพร้อมในการรองรับการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  ตลอดจนพิจารณาถึงวิธีการบูรณาการนโยบายของรัฐและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งคือ คณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำข้อเสนอแผนแม่บทเรื่องสังคมผู้สูงอายุต่อรัฐบาล เพื่อพิจารณาข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบในมิติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมสูงวัยหรือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต  และจัดทำแผนรองรับการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมคนไทยอายุยืนนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับ “สังคมคนไทยอายุยืน” ในอนาคต โดยสรุปออกมาเป็นข้อเสนอแผนการสร้างระบบรองรับ “สังคมคนไทยอายุยืน” […]

ผู้ดูแลระบบ

29/06/2563

ข้อเสนอ แผนการสร้างระบบรองรับ “สังคมคนไทยอายุยืน”

สังคมคนไทยอายุยืนความจริง วิกฤติการณ์ และข้อแนะนำ จัดทำโดยคณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำข้อเสนอแผนแม่บทเรื่องสังคมผู้สูงอายุต่อรัฐบาลราชบัณฑิตยสภา จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรในประเทศไทยที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้สังคมไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมที่ประชากรมีอายุยืนมากขึ้น และจะส่งผลกระทบในมิติต่าง ๆ ในด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ ด้านชุมชนสังคม และก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาในอนาคต ราชบัณฑิตยสภาในฐานะที่เป็นสถาบันหลักของเครือข่ายทางปัญญาแห่งชาติที่มีพันธกิจสำคัญประการหนึ่งคือ ให้ความเห็น คำแนะนำ และคำปรึกษาทางวิชาการแก่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี  ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งคือ คณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำข้อเสนอแผนแม่บทเรื่องสังคมผู้สูงอายุต่อรัฐบาล เพื่อพิจารณาข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบในมิติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมผู้สูงวัยหรือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต ซึ่งในที่นี้จะใช้ว่าสังคมคนไทยอายุยืน ระดมความคิดเห็นในการจัดทำแผนรองรับการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและนำเสนอต่อรัฐบาล ราชบัณฑิตยสภาเห็นว่าเรื่องนี้มีความจำเป็นที่คนไทยและรัฐบาลไทย จะต้องร่วมกันสร้างระบบเพื่อรองรับสังคมไทยอายุยืนอย่างจริงจังเป็นการด่วน โดยการบูรณาการนโยบายของรัฐและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น จึงได้เสนอข้อแนะนำดังต่อไปนี้ สถานการณ์สังคมคนไทยอายุยืน ปัจจุบันโครงสร้างของประชากรในประเทศไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยสัดส่วนของผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่สัดส่วนของคนวัยทำงานจะเริ่มลดลง และสัดส่วนของเด็ก (0-14 ปี) ก็จะลดลงเรื่อย ๆ ปัจจุบันปัญหาที่น่าเป็นห่วงคือ จำนวนเด็กที่เกิดใหม่ ส่วนใหญ่จะเกิดจาก “คนท้องที่ไม่พร้อม” ส่วน “คนพร้อมไม่ท้อง”  คุณภาพคนวัยทำงานในอนาคตที่มีสัดส่วนน้อยลงอยู่แล้วจะเป็นอย่างไร  ใครจะจ่ายภาษีอากรให้แก่รัฐบาล  เพื่อบริหารงานของประเทศและเพื่อเป็นสวัสดิการกับสังคม  […]

ผู้ดูแลระบบ

20/04/2563