การป้องกันอาชญากรรมออนไลน์

การบรรยายให้ความรู้ในโครงการราชบัณฑิตยสภานำความรู้สู่สังคมครั้งที่ ๔ เรื่อง การป้องกันอาชญากรรมออนไลน์ ปัจจุบันการเกิดเหตุอาชญากรรมออนไลน์  เฉพาะที่ได้รับแจ้งผ่านการรับแจ้งความออนไลน์มีเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เฉลี่ยอย่างน้อยวันละ ๑,๐๐๐ คดี          รูปแบบและวิวัฒนาการของการหลอกลวงมีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีการสื่อสาร  ในอดีตใช้รูปแบบการหลอกลวงแบบเผชิญหน้า ต่อมาพัฒนาเป็นการหลอกลวงผ่านการสื่อสารแบบมีสาย (โทรศัพท์บ้าน) ต่อด้วยการหลอกลวงแบบไร้สาย (โทรศัพท์เคลื่อนที่) เป็นลำดับ จนพัฒนาเป็นสมาร์ทโฟนที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่สะดวกสบาย โดยเฉพาะการทำธุรกรรมทางการเงินหรือโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของธนาคาร ที่มิจฉาชีพใช้เป็นช่องทางในการก่อเหตุอาชญากรรม          ประชาชนผู้เสียหายหรือผู้ถูกหลอกลวงทางอาชญากรรมออนไลน์เปรียบเสมือน “ปลา” ที่มิจฉาชีพใช้ “เหยื่อ” ก็คือกลอุบายต่าง ๆ มาหลอกล่อให้ปลากินเหยื่อและติดเบ็ด  โดยใช้วิธีการสื่อสารที่ถูกสร้างขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ ส่งไปถึงประชาชนผู้เสียหายให้หลงเชื่อได้ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕  ที่สำคัญคือ ทางตา และทางหู โดยทางตา มิจฉาชีพจะทำให้เห็นว่าเป็นเอกสารจริง เช่น ทำหนังสือปลอม หมายเรียกปลอม หรือมีเจ้าหน้าที่จริง โดยแต่งตัวด้วยเครื่องแบบของเจ้าหน้าที่ ส่วนทางหู  มิจฉาชีพจะทำเสียงรอบข้างให้เหมือนจริง เช่น เสียงวิทยุตำรวจ  เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศว่ากำลังสนทนากับตำรวจจริง ซึ่งทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ และหลงเชื่อได้ง่าย  เรียกรวมวิธีการเหล่านี้ว่า “กับดักการตลาด”          ธุรกิจและสิ่งของทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้  […]

ผู้ดูแลระบบ

01/08/2567

ท่องเที่ยวไทย : อานิสงส์ถ้วนหน้า

การบรรยายให้ความรู้ในโครงการราชบัณฑิตยสภานำความรู้สู่สังคมครั้งที่ ๓ เรื่อง ท่องเที่ยวไทย : อานิสงส์ถ้วนหน้า ขอเชิญร่วมฟังการบรรยายให้ความรู้ในโครงการราชบัณฑิตยสภานำความรู้สู่สังคมครั้งที่ ๓ เรื่อง ท่องเที่ยวไทย : อานิสงส์ถ้วนหน้า โดย ศ. ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด ภาคีสมาชิก สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง สามารถติดตามรับชมการถ่ายทอดสดการบรรยายได้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom และ Facebook Live สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ในวันพุธที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น.-๑๒.๐๐ น. บทคัดย่อ ท่องเที่ยว : อานิสงส์ถ้วนหน้า นำเสนอในการประชุมภายใต้โครงการราชบัณฑิตยสภานำความรู้สู่สังคม ครั้งที่ ๓ วันพุธที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ มิ่งสรรพ์  ขาวสอาดภาคีราชบัณฑิตสาขาเศรษฐศาสตร์สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง หลังจากโควิด ๑๙ สงบลงและเศรษฐกิจโลกเริ่มขยายตัว ภาคเศรษฐกิจท่องเที่ยวของไทยก็กลายเป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยตัวเดียวที่ทำงานอยู่อย่างเข้มแข็ง ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมแสดงอาการอ่อนแอลงไปเรื่อย ๆ […]

ผู้ดูแลระบบ

27/06/2567

ราชบัณฑิตยสภาบรรยายให้ความรู้เพื่อเตรียมพร้อมการรับมือกับ AI

วันเสาร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ระหว่างเวลา ๑๓.๓๐-๑๕.๓๐ น. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมภายใต้โครงการราชบัณฑิตยสภานำความรู้สู่สังคม และร่วมฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เมื่อ AI ครองโลก มนุษย์จะอยู่อย่างไร ?“ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ และ ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (School of Integrated Innovation, Chulalongkorn University) เป็นวิทยากรบรรยาย ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี ๖๐ พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยายครั้งนี้ ณ ห้อง CSII Digital Auditorium ภายในอาคารรวมทั้งมีการรับฟังผ่านระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ Zoom Cloud Meeting และ ผ่าน Facebook ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา […]

ผู้ดูแลระบบ

19/05/2567

ท่านจะปลอดภัยจากแคดเมียมได้อย่างไร

โครงการราชบัณฑิตยสภานำความรู้สู่สังคม บรรยายพิเศษ เรื่อง “ท่านจะปลอดภัยจากแคดเมียมได้อย่างไร” โดย รศ. นพ.สัมมน โฉมฉาย

ผู้ดูแลระบบ

26/04/2567

ราชบัณฑิตปูชนียบุคคล ปราชญ์ของแผ่นดิน ครั้งที่ ๑๒

วันพุธที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เวลา ๘.๐๐–๑๒.๐๐ น ณ ห้องราชดำเนิน โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์ นพ.สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานเปิดการเสวนาวิชาการเรื่อง “ราชบัณฑิตปูชนียบุคคล ปราชญ์ของแผ่นดิน ครั้งที่ ๑๒” และได้ให้เกียรติมอบเข็มเครื่องหมายราชบัณฑิตและเข็มเครื่องหมายภาคีสมาชิกให้ราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ การเสวนานี้จัดขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคลของราชบัณฑิตยสภา เผยแพร่เกียรติคุณและผลงานและเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อราชบัณฑิตผู้เป็นปูชนียบุคคล ๓ คน ได้แก่ ๑. ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ๒. ศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภาวิไล ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ และ ๓. ศาสตราจารย์วิสุทธ์ บุษยกุล ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม โดยจัดการประชุมแบบผสมผสาน ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings พร้อมถ่ายทอดสดออนไลน์ผ่านเพจเฟซบุ๊กและช่องยูทูบของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และเพจเฟซบุ๊กและช่องยูทูบของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ผู้ดูแลระบบ

24/09/2566

วช. ร่วมกับ ราชบัณฑิตยสภา รวบรวมกูรูด้านสังคมศาสตร์ร่วมถก “จะใช้ชีวิตอย่างไร ในโลกยุค COVID-19”

กว่า 3 เดือนแล้ว ที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับการระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ซึ่งนับว่าเป็นโรคอุบัติใหม่ ส่งผลกระทบในวงกว้างและมีแนวโน้มที่จะยังแพร่กระจายไปยังทั่วทุกมุมโลกอย่างต่อเนื่อง หลากหลายมุมมองหลากหลายปัญหาเกิดขึ้นตามๆ มาเป็นลูกโซ่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่นักการแพทย์และสาธารณสุขผู้ซึ่งอยู่ด่านหน้าของสงครามเชื้อโรคนี้จะต้องหาวิธีการที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและนวัตกรรม ที่เร่งค้นหาความลับที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใต้เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ เพื่อทำความเข้าใจและหาทางแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ภายใต้ภาวะความเครียดและข้อจำกัดของเวลา สิ่งสำคัญที่สังคมโลกไม่สามารถปฏิเสธได้เลยจากเหตุการณ์ระบาดครั้งนี้ คือ ผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการดำเนินชีวิตของมวลมนุษยชาติ จะใช้ชีวิตอย่างไร ในโลกยุค COVID-19 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ ราชบัณฑิตยสภา รวบรวมกูรูด้านสังคมศาสตร์ร่วมถก “จะใช้ชีวิตอย่างไร ในโลกยุค COVID-19” โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้กล่าวถึงความสำคัญของกิจกรรมเสวนาในครั้งนี้ ว่าเป็นการมุ่งเน้นที่จะสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนและสังคมในการใช้ชีวิตในภาวะวิกฤติการระบาดของโรค COVID-19 การลดความตื่นตระหนกและทำความเข้าใจกับสถานการณ์การแพร่ระบาด การลดความตึงเครียดและสร้างเสริมภูมิต้านทางด้านจิตใจ ความเข้าใจเอื้อเฟื้อแบ่งปันกันในสังคม การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ชุมชนเพื่อเป็นเกราะพลังทางจิตใจ การเสพข่าวที่เข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและมีความเข้าใจก็จะสามารถทำให้เราสามารถผ่านวิกฤตินี้ไปได้ด้วยกัน การระบาดของโรคที่ขยายวงกว้างมาตลอดระยะเวลา 3 เดือน และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะสิ้นสุดได้ในเร็ววัน ส่งผลต่อ ธุรกิจ ผู้ประกอบการ แรงงาน ผู้บริโภค และพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป สภาพคล่องทางการเงิน […]

ผู้ดูแลระบบ

13/03/2563

กู้วิกฤตภัยแล้งและระบบประปาเค็มปี ๒๕๖๓

เมื่อวันอังคารที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดประชุมเสวนาสาธารณะราชบัณฑิตยสภา เรื่อง “กู้วิกฤตภัยแล้งและระบบประปาเค็มปี ๒๕๖๓” ณ ห้องประชุม ๔๐๑-๔๐๓ ชั้น ๔ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา, ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ราชบัณฑิต ประธานอาศรมความคิดด้านระบบโลกศาสตร์และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ราชบัณฑิตยสภา, ศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ราชบัณฑิต ประธานคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ราชบัณฑิตยสภา และ ดร.ดวงตา ตันโช เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา รวมทั้งผู้สนใจและสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน การเสวนาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ประสบการณ์ด้านน้ำ ทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน ตลอดจนผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาวิกฤตภัยแล้งในปี ๒๕๖๓ ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความคิดเห็นระหว่างหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบและการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งในปี ๒๕๖๓ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคต่าง […]

ผู้ดูแลระบบ

05/03/2563

ครูและพิธีกรรมไหว้ครูในวัฒนธรรมไทยศึกษา เพื่อสืบสานและสร้างสรรค์อย่างมีคุณค่า

ในทุกช่วงเริ่มต้นปีการศึกษา นักเรียนและนิสิตจะทำพิธีไหว้ครู อันเป็นประเพณีสำคัญที่สะท้อนและถักทอสายใยแห่งความสัมพันธ์ของ ศิษย์กับครูมาแต่อดีต แม้ในวันนี้ ความเข้าใจ ความหมายและรูปแบบ บางอย่างของพิธีกรรมไหว้ครูจะแปรเปลี่ยนไปบ้าง แต่สังคมไทยก็ยกย่องครูดังคำเปรียบที่ว่า “ครูเป็นเสมือนพ่อแม่คนที่ 2 ของศิษย์” และยกให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็นวันครูแห่งชาติ “หัวใจของความเป็นครูอยู่ที่การเป็นต้นแบบผู้ดำรงชีวิตที่ดี ความเสียสละ เหมือนแม่พ่อที่คอยดูแลลูก รักและผูกพัน จึงเกิดคำว่า “ลูกศิษย์” ศ.กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิต สาขาวิชานาฏกรรม กล่าวในงานประชุมวิชาการระดับชาติ “ครูและพิธีกรรมไหว้ครูในวัฒนธรรมไทย” ที่จุฬาฯ เมื่อปลายปีที่แล้ว จัดโดยสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา ซึ่งประกอบด้วยราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านอักษรศาสตร์และศิลปกรรมแขนงต่างๆในการปาฐกถาเรื่อง “จิตวิญญาณครู” ศ.กิตติคุณ สุมน อมรวิวัฒน์ ราชบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ วิพากษ์ครูในปัจจุบันนี้ว่า มีจำนวนไม่น้อยที่ได้ขายจิตวิญญาณครูแลกกับตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์และเงินตรา “จิตวิญญาณในที่นี้ไม่ได้หมายถึงภูตผีปีศาจ แต่หมายถึง สภาวะจิตที่ได้ฝึกฝนดีแล้ว อันเป็นต้นทางของความเมตตากรุณา สุนทรียภาพ และสันติภาพ ครูต้องสอนให้ลูกศิษย์พ้นจากการกักขังทางความคิดและจินตนาการ มีอิสรภาพ ออกนอกกรอบ คิดเองได้ด้วยวิถีแห่งปัญญา มีพลัง […]

ผู้ดูแลระบบ

23/11/2562

สูงวัย… ไม่ตายกลางถนน

วันนี้ (๓๐ ต.ค. ๖๒) เวลา ๙.๓๐ น. ศ. นพ.สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานเปิดการเสวนาวิชาการเรื่อง “สูงวัย… ไม่ตายกลางถนน” ที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภา โดยคณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำข้อเสนอแผนแม่บทเรื่องสังคมผู้สูงอายุต่อรัฐบาล จัดขึ้น ณ ห้องประชุมชั้น ๓ กองศิลปกรรม สำนักงานราชบัณฑิตยสภา โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชนมาร่วมเสวนาเสนอความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว ได้แก่ พันตำรวจเอก สุริยัน วินิจมนตรี ผู้กำกับกลุ่มงานจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, นายบุญสม สุวรรณปิฎกกุล หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการจราจร กองนโยบายและแผน สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร, นายประยูร ภู่แส ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด, ดร.พิเชษฐ์ หนองช้าง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาวิชาการ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, ผู้แทนองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย คือ นายสุรชัย ปานน้อย ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ และนายพิภพ พานิชภักดิ์ รองผู้อำนวยการด้านเนื้อหาสื่อสาธารณะ และมี […]

ผู้ดูแลระบบ

11/10/2562

วช.-ราชบัณฑิตยสภา ระดมสมองขับเคลื่อนประเด็นท้าทายทางสังคมของประเทศ

“วช. – ราชบัณฑิตยสภา”รวมพลังระดมสมองผู้ทรงคุณวุฒิชั้นนำ ร่วมกันขับเคลื่อนประเด็นท้าทายทางสังคมของประเทศ เพื่อร่วมสร้างองค์ความรู้หลักให้กับประเทศให้มีความแข็งแกร่ง ยกระดับการวิจัยและนวัตกรรมในด้านต่างๆให้เข้ากับยุคโลกไร้พรมแดน… เมื่อวันที่ 5 ก.ย.62 มีการประชุมระดมสมองระหว่าง วช. กับราชบัณฑิตยสภา ในหัวข้อ “ทิศทางการวิจัยกับประเทศไทยในอนาคต : บูรณาการราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก ผู้ทรงคุณวุฒิ และเมธีวิจัยอาวุโส” เพื่อเป็นเวทีในการหารือ แลกเปลี่ยน และนำเสนอความคิดเห็นทางวิชาการของเครือข่ายขุมกำลังสมองของประเทศจากราชบัณฑิต ภาคีสมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ และเมธีวิจัยอาวุโส ที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ ศ.เกียรติคุณ นพ. สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กับ ราชบัณฑิตยสภา โดยการระดมสมองราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก ผู้ทรงคุณวุฒิ และเมธีวิจัยอาวุโส ผนึกกำลังบุคลากรวิจัยชั้นนำของประเทศในแต่ละมิติในการสร้างสรรค์งานวิจัยที่ตอบโจทย์ เชื่อมต่อ และใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อประเทศเพื่อการขับเคลื่อนด้านการวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นท้าทายทางสังคมของประเทศไทย จากบทบาทและหน้าที่ของทั้ง วช. และราชบัณฑิตยสภา ที่สามารถส่งเสริมและต่อยอดกันและกันในการร่วมสร้างองค์ความรู้หลักให้กับประเทศให้มีความแข็งแกร่ง นำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการวิจัยและนวัตกรรมในด้านต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ […]

ผู้ดูแลระบบ

05/09/2562
1 2