ราชบัณฑิตบัญญัติศัพท์คำว่า “New normal”

การพิจารณาศัพท์บัญญัติและนิยามของคำว่า New normal และ New norm ราชบัณฑิตยสภาได้แต่งตั้งคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับหลายสาขาวิชาและที่จำเป็นเร่งด่วน คณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่บัญญัติศัพท์ใหม่ที่อยู่ในกระแสสังคมร่วมสมัย รวมทั้งศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชาและมีความจำเป็นต้องใช้งาน นอกจากนี้มีหน้าที่เผยแพร่ศัพท์ที่บัญญัติไปสู่สาธารณะชนอีกด้วย คำว่า New normal ได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 คำว่า New normal เป็นวลีและเป็นสำนวน ซึ่ง Oxford dictionary ได้ให้คำนิยามว่า A previously unfamiliar or atypical situation that has become standard, usual, or expected. หมายถึงสถานการณ์หรือปรากฏการณ์ ที่แต่เดิมเป็นสิ่งที่ไม่ปรกติ ผู้คนไม่คุ้นเคย ไม่ใช่มาตรฐาน ต่อมา มีเหตุหรือเกิดวิกฤติบางอย่าง จึงมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้สถานการณ์หรือปรากฏการณ์นั้นกลายเป็นสิ่งที่ปรกติและเป็นมาตรฐาน กรรมการได้ให้ความเห็นว่าคำจำกัดความของคำว่า New normal เป็นพลวัตและคำนี้มีที่ใช้ในหลายบริบท ไม่ใช่เฉพาะในทางธุรกิจหรือวิถีชีวิตเท่านั้น จึงเป็นการยากที่จะหาคำกลางๆที่จะใช้ได้ในทุกบริบท จึงมีข้อสรุปร่วมกันว่า ควรจะเขียนคำนี้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “นิวนอร์มัล” จะสื่อความหมายได้ดีกว่า อย่างไรก็ตามคณะกรรมการบัญญัติศัพท์นิเทศศาสตร์ได้บัญญัติคำนี้ไว้แล้วว่า […]

ผู้ดูแลระบบ

13/05/2563

การใช้รูปวรรณยุกต์เอกในคำ แซ่บ กับ แซ่ด

นิตยา กาญจนะวรรณราชบัณฑิต ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทยสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา อักขรวิธีไทยกำหนดไว้ว่า ถ้าพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำมีสระเสียงยาว และตัวสะกดเป็นคำตาย จะเป็นเสียงโทได้ทันทีโดยไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับ เช่น งาก แต่ถ้าเป็นสระสั้น ต้องใช้รูปวรรณยุกต์เอกกำกับ เพื่อให้เป็นเสียงโท เช่น งั่ก หลักเกณฑ์นี้ปรากฏอยู่ในตำราภาษาไทยหลายเล่มนับแต่ พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นต้นมา เช่น หลักภาษาไทย ของ พระยาอุปกิตศิลปสาร มีตัวอย่างคือคำว่า คั่ก (พระยาอุปกิตศิลปสาร, ๒๕๓๓ : ๑๕) ลักษณะภาษาไทย ของ ศาสตราจารย์ ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา มีตัวอย่างคือคำว่า งั่ก (บรรจบ พันธุเมธา, ๒๕๕๙ : ๓๖) บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม ๑ ของ กระทรวงศึกษาธิการ มีตัวอย่างคือคำว่า คึ่ก (สถาบันภาษาไทย, ๒๕๔๕ : ๘๒) คำว่า แซ่บ […]

ผู้ดูแลระบบ

11/05/2563

สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙ และแนวทางป้องกันและรักษา

วันนี้ (29 ม.ค. ๖๓) เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม 401-402 กองวิทยาศาสตร์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ. สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานแถลงข่าวให้ความรู้เรื่อง “สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 และแนวทางป้องกันและรักษา”  โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต  ศาสตราจารย์ ดร. นพ.สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล ภาคีสมาชิก และ นพ.ปรีชา เปรมปรี  รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมแถลง สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ ไวรัสโคโรนาเป็นไวรัสขนาดใหญ่ และเป็นกลุ่มใหญ่ ดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน มีรูปร่างคล้ายมงกุฎ จึงเรียกว่า “ไวรัสโคโรนา”  พบได้ทั้งใน คน และ สัตว์ จำนวนมาก ไวรัสโคโรนา ที่เกิดโรคในคน แต่เดิมมี 6 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์ที่พบดั้งเดิม […]

ผู้ดูแลระบบ

30/01/2563

สถานการณ์ฝุ่น PM2.5

วันนี้ (๒๔ ม.ค. ๖๓) เวลา ๑๑.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๔๐๑-๔๐๒ กองวิทยาศาสตร์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ. สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานแถลงข่าวให้ความรู้เรื่อง “สถานการณ์ฝุ่น PM2.5” เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลและสถานการณ์ภาวะมลพิษ ฝุ่น PM2.5 ในเดือนมกราคม ๒๕๖๒ และ ๒๕๖๓ ในประเทศไทย รวมถึงการเสนอมาตรการที่รัฐบาลควรต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน โดยมี ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. นสพ.ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร ประธานสำนักวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ราชบัณฑิต ดร.อัษฎาพร ไกรพานนท์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ราชบัณฑิต ร่วมแถลง สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ จากผลการศึกษาของโครงการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับปัญหามลพิษอากาศ PM2.5 ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการสนับสนุนงบประมาณวิจัยจากสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) พบว่าลักษณะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและปัญหามลพิษอากาศ PM2.5 […]

ผู้ดูแลระบบ

25/01/2563
1 2