อำนาจหน้าที่ของราชบัณฑิตยสภา คณะกรรมการกิจการและประธานสำนักตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๕๘ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

อำนาจหน้าที่ของราชบัณฑิตยสภา คณะกรรมการกิจการและประธานสำนัก ตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๕๘ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

๑. ราชบัณฑิตยสภา มอำนาจหน้าที่สำคัญตาม มาตรา ๓๑ (๑) คือ วางนโยบายในการดำเนินงานด้านวิชาการตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
๒. สำนักงานราชบัณฑิตยสภามอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๘ เช่น มาตรา ๘ (๖) ต้องดำเนินงานเกี่ยวกับ การจัดทำพจนานุกรมสารานุกรม อักขรานุกรม ฯลฯ
๓. ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๘ นี้ สำนักงานราชบัณฑิตยสภาต้องดำเนินงานตาม นโยบายด้านวิชาการที่ราชบัณฑิตยสภากำหนด ตามมาตรา ๓๑ (๑)
๔. พระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดอำนาจหน้าที่ของนายกราชบัณฑิตยสภาไว้ ตามมาตรา ๒๖ เช่น กำกับดูแลการปฏิบัติงานของราชบัณฑิตยสภาทางด้านวิชาการให้เป็นไปตามนโยบาย ข้อบังคับ ระเบียบ และมติของราชบัณฑิตยสภาด้วย และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการฯ ตามมาตรา ๓๗ เช่น เชื่อมประสานให้มีการปฏิบัติตามทิศทางและนโยบายที่ราชบัณฑิตยสภากำหนด
๕. พระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๕๘ ไม่ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของประธานสำนักต่าง ๆ ไว้โดยตรง เพียงแต่กำหนดไว้ตามมมาตรา ๓๓ ให้ราชบัณฑิตแต่ละสำนักประชุมกันเลือกราชบัณฑิตในสำนัก ของตนี้เป็นประธานสำนักคนหนึ่ง และเป็นเลขานุการสำนักคนหนึ่ง และตามมาตรา ๓๕ กำหนดให้การ ประชุมสำนักให้เป็นไปตามข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา และในการประชุมสำนเด็กเเต่ละคนสำนัก ราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกมีหน้าที่เข้าประชุมและมีหน้าที่เสนอเรื่องเกี่ยวกับวิชาการที่ตนค้นคว้าได้ต่อสำนักตามระเบียบราชบัณฑิตยสภา

ในการนี้ข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา ว่าด้วยการประชุมสำนัก พ.ศ. ๒๕๖๓ จึงกำหนดให้เรื่อง อำนาจและหน้าที่ของประธานสำนักไว้เฉพาะเกี่ยวกับเรื่องการประชุมสำนัก โดยให้ประธานสำนักเป็น ประธานของที่ประชุม และควบคุมดำเนินการประชุม เป็นผู้กำหนดวันประชุมตามความเห็นที่ประชุม ฯลฯ อีกประการหนึ่งประธานสำนักมีสถานะเป็นกรรมการในคณะกรรมการกิจการฯ ด้วย คณะกรรมการ กิจการฯ มีหน้าที่สำคัญ เช่น เชื่อมประสานให้มีการปฏิบัติตามทิศทางและนโยบายที่ราชบัณฑิตยสภากำหนด ให้คำแนะนำและคำปรึกษาทาง วิชาการและบริหารแก่สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของประธานสำนักจึงควรคำนึงถึงประเด็นสำคัญ ดังนี้
๑. นโยบายในการดำเนินงานด้านวิชาการตามที่ราชบัณฑิตยสภาวางไว้ รวมทั้งหน้าที่อื่นตามที่ราช
บัณฑิตยสภามอบหมาย ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ตามสมัย
๒. คำแนะนำและคำปรึกษาทาง วิชาการและบริหารที่ให้แก่สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ทั้งนี้ เพื่อให้งานวิชาการของแต่ละสำนักมีการบูรณาการซึ่งกันและกัน และมีผลรวมเป็นเอกภาพ
การใช้งบประมาณในส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ซ้ำซ้อนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และประการสำคัญคือไม่ขัดีหรือ
แย้งกับนนโยบายทาง วิชาการในภาพรวมที่ราชบัณฑิตยสภา นายกราชบัณฑิตยสภา และคณะกรรมการกิจการฯ
ได้กำหนดไว้